จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

หัดเล่นลิ้น ลาก ร.เรือ ออกจากปากกันดีกว่า

ใครอยากออกเสียง ร.เรือ ได้ง่ายขึ้น อ่านด่วน

     ช่วงท้ายปีก่อน มีโอกาสได้คลุกคลีกับน้องนักศึกษาฝึกงาน ที่มาฝึกงานด้านวิทยุกระจายเสียงและงานข่าว พบว่าหลายคนมีปัญหาเรื่อง การออกเสียง ร.เรือ มีอาการลิ้นแข็งส่วนใหญ่ออกเสียงเป็น ล.ลิง เรียกได้ว่ามาเป็นฝูงกันเลยทีเดียว เช่นจะเข้าโรงเรียน ก็ไปออกเสียงว่า โลงเลียน ความหมายเพี้ยนไปกันใหญ่ วันนี้ผมมีเทคนิคง่ายๆ แบบพื้นฐานในการออกเสียง ร.เรือ มาฝากครับ

    เริ่มต้นจาก ตื่นนอนตอนเช้า เข้าไปในห้องน้ำ ทำธุระส่วนตัวหรือไม่ทำก็ได้ ระหว่างนั้นให้หัดบริหารลิ้นด้วยการหันลิ้น พูดคำว่า เรอะ เรอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  รัวกระหน่ำอย่าหยุด  หันลิ้นลากยาวจนสุดลมหายใจ แต่เดี๋ยวก่อนถ้าคิดไม่ออก ให้นึกถึงตอนที่คุณอยู่หน้าพัดลมตอนเด็กๆ แล้วพูดออกมา ลักษณะเสียงจะรัวยาว อย่างนั้นเลย

    ทำอย่างนี้ทุกวันตออนเช้าหลังจากตื่นนอน สัก 10-15 นาที รับรองเห็นผล ทำต่อเนื่องสองอาทิตย์ขึ้นไป คุณก็จะสามารถออกเสียง ร.เรือ ได้อย่างสบาย ไว้มีโอกาส คิวว่าง อารมณ์ดี จะทำคลิปลงยูทุปสาธิตให้ดูนะครับ

ได้ผลไม่ได้ผลยังไงบอกได้นะครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารข่าวสารในภาวะวิกฤต เมื่อคนไทยไร้ความเชื่อถือภาครัฐ

          ทุกวันนี้หลายคนอาจให้ความหมายของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ.ต่างออกไปจากความหมายที่ถูกต้อง เช่นศูนย์ปิดข่าวภัยพิบัติแห่งชาติ ,ศูนย์เปลี่ยนแปลงข้อมูลจน(กู)รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย หรือ อาจจะเป็นว่า ศูนย์ไร้ประสิทธิภาพในการป้องกันภัยน้ำท่วม ซึ่งข้องข้างลดความน่าเชื่อถือของ ศปภ.ที่ย่อมาจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แต่มันก็มีเหตุมีผล เพราะไม่ใช่อยู่ดีๆคนจะมาพูด  เพราะการสื่อสารของ ศปภ.เองที่มีปัญหา ผมมีโอกาสได้ฟัง ความเห็นจากนักวิชาการด้านการสื่อสาร ประเมินการสื่อสารของภาครัฐไว้ดังนี้ ลองเทียบเคียงดูนะครับ
          อาจารย์สุภาพร โพธิ์แก้ว ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในรายการพิเศษ ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม ทาง ThaiPBS  เมื่อคืนวันที่ 22 ตค. 54  โดยกล่าวถึงสถานการณ์ในภาวะวิกฤติน้ำท่วม เช่นนี้  มีผู้ได้รับผลกระทบที่เกี่ยวข้องเป็นวงกว้าง  และต้องการได้รับการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและทันการ และต้องการภูมิปัญญาที่หาทางออกอย่างมั่นใจว่าทางออกจะไปทางใดได้บ้างจึงจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสารที่ดี เพราะเมื่อการตัดสินใจออกไป แต่มีการสื่อสารที่ไม่ดีทำให้การนำไปปฏิบัติพลาดได้
          ก่อนอื่นไปรู้จักกับสื่อสารข้อมูล  อาจารย์สุภาพร ประเมินการสื่อสารของภาครัฐ ในภาวะวิกฤติว่า มีแนวคิด 2 แนวคิด
         
           1 .การสื่อสารในเชิงการบัญชาการและการสั่งการ ซึ่งแนวคิดดั้งเดิมมักใช้ครอบงำการจัดการการสื่อสารของหลายประเทศ ซึ่งสร้างความล้มเหลวในการจัดการภัยพิบัติ จนกระทั่งครั้งที่มีการตั้งคำถามแล้วเกิดเปลี่ยนแนวคิดใหม่ คือเหตุการณ์ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่ เมืองนิวออร์ลีนส์ มลรัฐหลุยส์เซียน่า จากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา เหตุการณ์เกิดขึ้นเมืองเดียวแต่ความรุนแรงควบคุมไม่ได้และบานปลาย เนื่องจากการสื่อสาร ซึ่งหัวใจมาจากการสื่อสาร ที่มีทั้งการสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน ในระดับอำนาจการสั่งการที่ขัดแย้งกัน สื่อในช่วงนั้นจะวิจารณ์ว่าใครทำผิดใครถูก “ช่วงนั้นถ้าใครติดตามอ่าน นิตยสารไทม์ หรืออื่นๆสื่อจะมีการวิเคราะห์ว่า ตกลงใครผิดใครถูก” คำถามนี้เรากำลังเผชิญอยู่ ว่าการตัดสินใจในขั้นไหนที่ผิด ยกตัวอย่าง เมืองนิวออร์ลีนส์บอกว่ามีอำนาจแค่นี้การการปฏิบัติการ ขณะที่รัฐบาลกลางก็บอกว่าไม่มีสิทธิ์ก้าวล่วงจนกว่าส่วนท้องถิ่นจะร้องขอความช่วยเหลือมา ผลที่เกิดคือความรุนแรงควบคุมไม่ได้และบานปลาย
 
        2.การสื่อสารที่พบว่ามีความผิดพลาด ในแนวคิดเก่าเชื่อว่าการสื่อสารต้องเป็นทิศทางเดียว ในลักษณะจากบนลงล่าง จากผู้ชำนาญการหรือผู้ตัดสินใจแล้วชี้ไปในทางเดียว ซึ่งพบว่าการสื่อสารลักษณะนี้ ในภาวะวิกฤติที่กระทบคนจำนวนมาก พอชี้ไปในทิศทางเดียวแล้วจะเกิดการเหมารวม และกลายเป็นทิศทางที่ไม่สามารถตอบรับผลกระทบที่เกิดอย่างหลากหลายและมีผลต่อกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน

          จึงพบว่ามีการสื่อสารแบบสองทิศทางเท่านั้นแหละ ที่จะระดมทำให้เห็นภาพมวลรวมความเกี่ยวโยงก่อนตัดสินใจและรอบคอบ ในภาวะแบบนี้ถ้าตัดสินใจพลาด จะทำให้วิกฤติบานปลายและเหลือกำลัง  ซึ่งครั้งนี้ มีเหตุว่าการฟังเสียงสะท้อนหรือ การรับเสียงสะท้อนจากบุคคลที่หลากหลายกลับขึ้นมา ซึ่งภาคประชาชนพยายามจะสื่อสาร ให้ถึงหน่วยงานภาครัฐ โดยต้องมีคนกลางเข้ามาจัดการ และไม่เห็นการตอบกลับของประชาชนเป็นปัญหา  แต่ต้องเน้นเรื่องการสื่อสารสองทาง

          มายาคติ ที่นักจัดการการสื่อสารกลัวคือความตื่นตระหนก ที่ทุกครั้งทุกคนจะบอกว่าอย่าตื่นตระหนก และมองว่าความตื่นตระหนกเป็นปัญหา แต่ความเป็นจริงความตื่นตระหนกไม่ได้เป็นปัญหา เป็นเพียงอุณหภูมิที่ดี ว่าประชาชนตื่นตัว ซึ่งคาบเกี่ยวกันนิดเดียว ถ้าเราย้ำบอกว่าอย่าตื่นตระหนก แต่ข้อมูลไม่ชัดเจน ในขณะที่รายงานออกไปแล้วไม่ชัดเจนยิ่งจะทำให้เกิดการตื่นตระหนก ซึ่งเราจะทำให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนกได้ ข้อมูลการสื่อสารต้องเปิดเผยและเปิดกว้าง ในภาวะวิกฤติต้องให้รู้เท่าที่จำเป็น เพราะถ้ารู้มากไปจะทำให้การจัดการกับปัญหาลำบาก

         ซึ่งการสื่อสารของ ศปภ.ถ้าจะเทียบเคียงทางวิชาการกับสถานการณ์ปัจจุบัน  ก่อนเชื่อถือไม่เชื่อถือต้องชัดเจน เบื้องต้นประชาชนจะเชื่อถือข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐก่อน เพราะข้อมูลทุกอย่างทุกอย่างจะรวมอยู่ที่หน่วยงานภาครัฐ  แต่รัฐต้องมีความชัดเจนก่อน ต้องอย่าทำให้ประชาชนรู้สึกว่ากั๊กไว้รึเปล่า บอกข้อมูลไม่หมดรึเปล่า หมายความว่าถ้าไม่เกิดความชัดเจนประชาชนก็จะไม่เชื่อถือ  แม้แต่การแถลงข่าวต้องเปิดโอกาสให้นักข่าวได้ซักถาม เพื่อเป็นการสื่อสารสองทาง นักข่าวเป็นตัวแทนประชาชน  รัฐต้องไม่อธิบายแบบวิชาการ อย่ามัวแต่บอกเหตุของสิ่งที่เกิดอยู่ เพราะคนไม่ได้อยากรู้เหตุที่เกิดว่าเพราะอะไร แต่อยากรู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ

  กลไกล ศปภ.มีปัญหาคือการเตือนไม่ใช่การเตือน  ทุกวันนี้สิ่งที่ขาดก็คือคนที่ถอยออกมาประมวล การวัดอุณภูมิของสังคม การรับรู้ว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ในเรื่องของการสื่อสารในแต่ละวัน เพราะถ้าไม่มีทีมนี้จะปรับทิศทางยาก ซึ่งอุณภูมิวันนี้มีทั้งที่ดีขึ้นในบางเรื่อง เช่น ประชาชนรู้ว่าถึงจุดที่เขาจะต้องลุกขึ้นมาพึ่งตัวเอง  แต่หลายคนอาจจะมองว่าพึ่งรัฐไม่ได้ แต่ต้องมองว่าเป็นโจทย์ของการรับมือกับภัยพิบัติ ประชาชนต้องตระหนักในศักยภาพของตนเองและรู้ว่าตนเองทำได้ เพียงแต่จะต้องดูว่าต้องทำเรื่องใด เรียกร้องเรื่องใด และจะรู้เรื่องแบ่งปันให้คนรอบข้างอย่างใด

        ขณะที่อีกสิ่งเกิดขึ้น ในชุมชนเมือง สิ่งที่เป็นปัญหาความสัมพันธ์ทางสังคมแบบหลวมๆ เช่น บางบัวทอง คนที่อาศัยอยู่ล้วนทำงานในเมือง แต่เมื่อมีวิกฤติน้ำท่วมทำให้มีการเกาะเกี่ยวกันที่เหนียวแน่น เริ่มหันไปถามเพื่อนบ้าน ประชาชนเริ่มหันหน้าเข้าหากัน เพราะไม่มั่นใจต่อรัฐ รู้สึกไม่แน่นอน ซึ่งมีผลต่อการตั้งสติอย่างมากเมื่อเกิดความไม่ชัดเจน  ความไม่แน่ใจเกิดมาจากไหน เกิดมาจากการรับรู้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน เช่น ความเชื่อถือเพิ่งมา ในระยะหลังๆ เพราะที่ผ่านมา เคยบอกว่าหนึ่งกลับเป็นสอง บอกว่าไม่แต่กลับเป็นใช่ เกิดขึ้นหลายครั้งมากจนเกินไป จนกระบวนการแบบนี้ประชาชนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งๆที่ตอนนี้อาจจะมีเรื่องราวใหม่ๆที่เริ่มตอบโจทย์จากรัฐ แต่ด้วยสภาวะที่ปล่อยให้อุณหภูมิของความไม่แน่ใจในสังคมเติบโตขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจ

          ส่วนปรากฏการโซเชียลมีเดีย ข้อมูลอาจทำให้เกิดความไม่น่าชื่อถือ การบริหารข้อมูลต้องทำให้เกิดความถูกต้อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องอิงข้อมูลจากภาครัฐ แต่เป็นการบริการข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องและอธิบายให้เกิดความชัดเจนและถูกต้อง
  ซึ่งทั้งหมดนี้ตอบคำถามว่าข้อมูลที่ชัดเจนและบอกในเวลาที่ถูกต้องเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดความมั่นใจ อะไรที่เกิดแล้วมาอธิบายภายหลังยิ่งสร้างอุณหภูมิให้สังคมที่สูงขึ้น

          สำหรับสื่อมวลชนเอง สิ่งที่สื่อต้องช่วยคือ ต้องให้สิ่งที่เป็นข้อมูลชัดๆให้มากและจัดสมดุล ต้องมีข่าวดีในภาวะวิกฤติด้วย เพื่อให้สภาวะของคนมีพลัง  เช่น มีข่าวดีที่ว่า ประชาชนสามารถจัดการกับปัญหาได้เอง จะช่วยให้ประชาชนเห็นทางออกและลุกขึ้นเดินหน้าฝ่าวิกฤติไปได้

***********************************************************************************

ตอนนี้ผมกลัวอย่างเดียวว่า ถ้าหากรัฐแก้ปัญหาได้ภายหลัง จะไม่มีใครฟัง คล้ายๆกับเด็กเลี้ยงแกะ หวังว่ารัฐคงจะหาทางออกต่อวิกฤตครั้งนี้ได้ดีขึ้น แต่เราที่เป็นประชาชน ก่อนอื่นต้องพึ่งพิงตนเองก่อนรอความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือโทษใคร

ไปฟังเสียงจริงจากคลิปนี้ได้ครับ
http://www.thaipbs.or.th/flood54/preview.asp?newsid=C0000474

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทางสร้างแบรนด์แบบขาโหด


             ต้อง “บูรณาการ integration กระบวนการรวมเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่อง  ช่วงนี้อาจได้ยินบ่อยมาก แทบทุกวันจากปาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  นักข่าวหลายคนอาจเบื่อกับคำๆนี้  แต่คำนี้นักข่าวต้องนำมาปรับใช้กับตัวเองเพื่อให้เป็นอภิชาตินักข่าวให้ได้  อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย หรือ ขาโหด แห่งรายการ SME ตีแตก เคยกล่าวไว้ว่า

บูรณาการเป็นให้ได้ทุกสิ่ง คาถากันถูกปลด

                เมื่อก่อนนักข่าวต่างประเทศ ทำงานเป็นทีมๆละ 3 คน นักข่าว ช่างภาพ ผู้ช่วยช่างภาพ แต่ปัจจุบันแค่คนเดียวทำได้ทุกสิ่งอย่าง  เพราะแหล่งรายได้ของสื่อเก่าจะลดลง เช่นค่าโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือ ฟรีทีวี แต่แนวโน้มที่สำนักข่าวจะไล่พนักงานออกไม่มี ยกเว้นว่าบางเล่มจะเจ๊ง หรือค่อยๆลดคนลง โดยการบีบ เพิ่มงาน ไม่ขึ้นเงินเดือน  ซึ่งคนที่จะอยู่ได้ในองค์กรได้ ต้องมี Differentiation คือในหนึ่งองค์กรจะมีคนเก่งๆในองค์กร 20 % ซึ่งคนกลุ่มนี้จะได้รับการยอมรับ เจ้าของบริษัทจะยกย่องให้เป็นซุปเปอร์สตาร์ และจะมีคนอีก 70 % กลางๆและจะมีอีก 10%ที่จะให้ออก  ซึ่งในบางบริษัทจะให้คนออก 5% เพื่อปรับองค์กรที่เปรียบกับน้ำ ถ้ามันอยู่กับที่จะนิ่งและเน่าจึงต้องรับคนใหม่เข้ามา

                ฉะนั้นก็ต้องมาคิดต่อแล้วว่า เราอยู่ใน 20%-70%หรือ 10 %    ถ้าอยู่ใน 70 บริษัทจะพยายามพัฒนาทักษะให้ มีสิทธิเกิด แต่ถ้าอยู่ใน 10 % มีสิทธิออกอย่างไม่มีความปราณี เพราะคุณอาจไม่เหมาะกับการเป็นพนักงานในบริษัทนี้ ยกตัวอย่างเช่น การเป็นนักข่าว ถ้าไม่รุ่งไม่ได้หมายความว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพอื่นๆ เพราะถ้าเป็นนักข่าวอยู่ 3 ปีแล้วจะไปทำอาชีพอย่างอื่นไม่ได้ ก็จะกลายเป็นบุคคลที่ เป็นเหมือนไม่เป็น มีเหมือนไม่มี บริษัทต้องรีบบอกว่าไปทำอย่างอื่นดีกว่า เหมาะกับวิชาชีพอย่างอื่นมากกว่าอันนี้  คือ 10 %   (ถามตัวเองสิ ว่าถ้าอยู่ใน 10%รึเปล่า)

ภาพนักข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลมีผมด้วยในนี้
           
“นักข่าวมีสิทธิถูกไล่ออก ไม่ก็ถูกบีบออก ได้ตลอดเวลา ในเมืองนอก ทางออกคือ ต้องเบรนดิ้งตัวเอง”


                ถ้ามองในมุมนักข่าวออนไลน์ ต้องเก่งกว่านักข่าวในสื่อเก่า คือต้องเป็นอภิชาตินักข่าว ต้องแย่กว่ารุ่นเดิมไม่ได้ คนรุ่นใหม่ต้องเก่งกว่าคนรุ่นเก่า เพราะสภาพแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ยากกว่าคนรุ่นเก่า การเป็นนักข่าวออนไลน์ต้องรู้ให้รอบ ออนไลน์ขายความเร็ว นักข่าวต้องขายเซ้นต์ ต้องไปหยิบข่าวที่คนอยากรู้ เร็วอย่างเดียวไม่พอ ต้องเป็นทั้งนักข่าวออนไลน์และนักข่าวกระดาษ ดึงสิ่งที่นักข่าวกระดาษทำแล้วดีเข้าหาตัว อันไหนเขาทำไม่ดีทำให้ดีกว่าเขา 

                 จำไว้ ถ้าเราจะรอด จะต้องแบรนดิ้งตัวเอง รูปภาพก็เป็นสิ่งสำคัญมาก  ต้องทำงานเพิ่มกว่าจะได้คนตามเพิ่ม และจะสร้างแบรนด์ตัวเองไม่ได้ ถ้าคุณเป็นดาวเคราะห์ คุณต้องเป็นดาวฤกษ์เท่านั้นถึงจะสร้างแบรนด์ให้ตัวเองได้  ถ้าคุณไม่ใช่ดาวฤกษ์ ต้องมีดาวฤกษ์ดวงอื่นๆมาช่วยส่องแสง คนที่จะเป็นดาวฤกษ์จะต้องเป็นนายใหญ่เข้าหาเขาซะ  

                 ในวงการข่าวต่อไปทุกค่ายต้องบูรณาการให้มีทุกสื่อ อย่างสมบูรณ์แบบ ถ้าเป็นอย่างนั้น อะไรจะเกิดขึ้น อาจต้องมีการเอาคนใหม่เข้ามา  คนอายุมาก ประสบการมากแต่เป็นประสบการณ์ในยุคเก่า ต้องถูกเปลี่ยนออก แล้วจะมีอนาคตไหม คนมาอยู่ช่อง 3 ไม่ใช่จะดังหมด คนที่ไปอยู่ช่องสามที่จะดังได้ต้องมีดาวฤกษ์ช่วยดัน คือ กิตติ สิงหาปัด และสรยุทธ สุทัศนะจินดา จงไปอยู่ใกล้คนที่ให้แสงสว่างคุณได้ 

                รู้หรือไม่ทำไมเนชั่นทรงพลังสูงสุด คำตอบคือ ดูง่ายๆ มีทีวี มีดาวเทียม มีหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่เนชั่นโตได้เพราะเนชั่นให้นักข่าวทุกคนเล่นทวิตเตอร์  หลายคนอาจมองว่ามีผลไหม ยกตัวอย่างโฆษณาตัวแรกที่เห็นผลคือ ดีเทค ก่อนที่จะยิงโฆษณาทีวี ยิงผ่านยูทุปมีคนไปดูแล้วกว่า 7 หมื่นคน

ยุทธศาสตร์ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์
                
                  แต่สำหรับเรา คนธรรมดา คือต้องมียุทธศาสตร์ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ มีแฟนเพจ  และข้อเสียของแฟนเพจคือจะไม่เพิ่มถ้าไม่บอก  แต่ทวิตเตอร์ จะเพิ่มขึ้น  เพิ่มขึ้น  การเบรนดิ้งตัวเองจะต้องรู้จักใช้เฟสบุ๊ค ยูทุป ทวิเตอร์ เบรนดิ้งตัวเอง เพราะถ้าเข้าตาจนจริงๆ ถูกไล่เราออกจะทำอย่างไร  ฉนั้นต้องสร้างแบรนด์ตัวเอง ให้เป็นสาธารณะ โดยการสร้างบล๊อก และคู่แข่งขันของนักข่าวคือบล๊อกเกอร์    ผู้เชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ซึ่งจะกลายเป็นคู่แข่งของนักข่าว บล๊อกเกอร์สามารถทำได้ทุกอย่าง เขียนได้ทุกอย่าง

คนส่วนใหญ่จะเล่นทวิตเตอร์แบบแพนด้า
                
                  คนส่วนใหญ่จะเล่นทวิเตอร์แบบแพนด้า (แบบช่วงๆ) ทวิตเตอร์คนธรรมดาจะกลายเป็นแบรนด์ได้ ต้องหาสิ่งที่แตกต่างคือการขายความคิด เพราะเราไม่สามารถเป็นนักข่าวตลอดชีวิตได้  ถ้าเป็นนักข่าวออนไลน์แล้วทำข่าวเหมือนกันหมด ก็ต้องหาข้อแตกต่างที่เราชอบ ดูว่าคนที่อยู่ในวงการที่เราเชี่ยวชาญเขาอยู่ในส่วนไหน โลกยุคใหม่จะเป็นเบรนด์ได้เพราะเทคโนโลยี เช่นสามารถสร้างหนัง วิทยุของตัวเองได้ ในแง่โลกออนไลน์ ต้องเป็นตัวของตัวเอง innovation ชอบข่าวที่มุมมองข่าว คือความแตกต่าง ข่าวๆเดียวกันคุณจะมองในมุมไหน ต้องมีมุมมอง คมชัดลึก เพื่อจะได้ฉีกข่าวเดียวนี้ออกไปเพื่อให้เกิดมูลค่า

กสทช.มา เงินในวงการจะกระจายมาก สุดท้ายถ้าไม่เกิดผล เงินจะมาในโลกออนไลน์
                
                 ต้องมียุทธศาสตร์การโชเชียลมีเดีย หาพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญสักอย่างหนึ่ง ต่อไปมี กสทช เงินในวงการที่วีจะมากขึ้นและอาจมีการเปิดช่องทีวีเพิ่ม ทำให้จำนวนเงินในการโฆษณากระจายออกไป  เช่นราเมงเจ้าหนึ่งยังไม่ได้ประกาศผ่านสื่อ แต่บอกผ่านโซเชียลมีเดีย ถึง 6 หมื่น ถ้าคุณมีแฟนเพจซักหมื่นคนเท่ากับมีทุน ต่อไปดูได้เลยถ้า กสทช.มา เงินในวงการจะกระจายมาก สุดท้ายถ้าไม่เกิดผล เงินจะมาในโลกออนไลน์ ตอนนี้บล๊อกเกอร์เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก บล๊อกเกอร์จะเป็นคู่แข่งนักข่าว ถ้าเราสนใจในเรื่องใด ก็ทำไปเลย จากนี้ไปต้องมีเซนต์ ต้องเขียนบทความ

สร้างแบรนด์แบบจังกึมมุ่งมั่นไปให้ถึงและมีคนช่วยดัน

                แดจังกึม เป็นซีรีย์ เกาหลีที่น่าสนใจมาก แดจังกึม แม่เป็นซังกุงคนหนึ่งในวัง ตอนหลังหนีออกมาจากวัง แม่บอกจังกึมว่า แม่อยากเป็นซังกุงสูงสุด จังกึมก็ทำทุกอย่างให้เข้ามาในวัง แนวคิดของจังกึมคือทำอย่างไรให้โดดเด่น เลือกทำอย่างหนึ่งให้เด่น โดยหากุนซือ ไปหากุนซือ เพื่ออุ้มชูเรา แต่กุนซือนั้นต้องหวังดีกับเราอุ้มชูเรา ทำให้เราประสบความสำเร็จโดยไม่อิจฉาเรา ฮันซังกุง สอนแดจังกึมทำอาหาร เวลาแข่งทำอาหาร ฮันซังกุงได้รับการชื่นชมแต่ก็ยังบอกว่าที่ทำได้เพราะจังกึม  แม้ตอนหลังแดจังกึมถูกแกล้งจนกลายเป็นนักโทษ ก็คิดว่าจะทำอย่างไรให้กลับเข้าไปในวังให้ได้ โดยการเรียนหมอ และทำทุกทางให้เข้าไปในวังจนได้ และประสบความสำเร็จในที่สุด

ก่อร่างสร้างแบรนด์ ต้องอย่างงี้ๆ  ยกตัวอย่างกรณี นักข่าวออนไลน์

1.ต้องกำหนดเป้าหมายว่าในอนาคตจะเป็นอะไรดี         
2.ต้องมีวิสัยทัศน์ มองให้ออกว่าอนาคตสื่อจะเป็นอย่างไร บล๊อกเราไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เราทำก็ได้  อาจเป็นเรื่องที่ชอบ สื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงสูง ต่อไปนักข่าวจะไม่ใช่มนุษย์พันธุ์เดียวที่รายงานข่าว จะมีบล๊อกเกอร์ และนักข่าวพลเมืองมาลดบทบาท
3.โอกาสของเรามีไหม ต้องวิเคราะห์เจ้าสำนัก บู๊ตึ้ง เซ่าหลิน (หัวหน้าสำนัก) บางคนความสามารถไม่จำเป็น คนเก่งมากๆไปไม่ได้ไกลเพราะเพื่อนน้อย คนที่ประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่คนเก่งอย่างเดียว เก่งสู้เฮงไม่ได้ ต้องเฮงด้วยเคล็ดลับการประสบความสำเร็จ คือต้องอยู่ถูกที่ถูกเวลา คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ อยู่กับที่ตลอดเวลา ต้องดูว่าเราอยู่ถูกที่ถูกเวลา และมีนายถูกคน ก็จะเกิด opportunity สุงที่สุด บางคนคิดว่าอยู่ที่นี่แล้วออกไปไหนไม่ได้ แต่พอออกไปแล้วโอกาสมหาศาล ต้องดูว่าเราอาจเหมาะกับที่อื่นมากกว่า ไม่ใช่ว่าเราไม่เหมาะกับที่อื่น ถ้าเราไม่มี opportunity เลยอย่าใช้ชีวิตแบบตามลมปลิว ไม่มีใครใช้ชีวิตแบบตามลมปลิวแล้วจะประสบความสำเร็จในระยะยาว 

ให้ความสำคัญสิ่งที่ไม่สำคัญพอๆกับสิ่งที่สำคัญ

                จากนั้นก็หาว่าอะไรควรทำก่อนควรทำหลัง เคล็ดลับสตีพจ๊อกบ ให้ความสำคัญสิ่งที่ไม่สำคัญพอๆกับสิ่งที่สำคัญ อะไรควรทำก่อนอะไรควรทำหลัง อะไรไม่ควรทำ หาให้ได้ว่าคุณเก่งอะไร เป็นนักข่าวประเภทไหน ประเภทนักวิเคราะห์รึเปล่า หรือแอคทีพ พวกอุดมการณ์ เน้นความเร็วอย่างเร็วรึเปล่า ต้องไปเป็นกลุ่มรึเปล่า ทำคนเดียวแล้วไม่เกิด บางทีไม่ว่างให้เพื่อนทำให้ ถามตัวเองว่าเราเป็นคนประเภทไหน  จูงใจ หาให้ได้ และจบริหารตัวเองอย่างถูกต้อง  และต้องเป็นคนที่มี อินโนเวชั่น เช่น จาพนม มีคนที่หน้าตาไม่ดี แต่นวัตตนเองจนเป็นดาราระดับต้นๆ ถ้าจะเป็นนักข่าวที่เก่ง อะไรที่นักข่าวอื่นไม่เคยทำมาก่อน ไม่เคยมีการทำมาก่อน อะไรที่คนในวงการชอบ เช่นความเร็วอย่าเร็วเกินไป ประมวลก่อน โดยเฉพาะข่าวที่ชี้เป็นชี้ตาย จะทำให้คนจะ อะไรที่คนในวงการให้ความสำคัญน้อย เพิ่มอารมข่าว ใส่ความเป็นตัวตนไปด้วย แม้ในตอนเรียนจะบอกว่า อย่าใช่อารมณ์ แต่คนไทยชอบ อะไรที่ไม่จำเป็นเลิก เลิกเข้าออฟฟิต คุณสามารถทำข่าวได้เอเวอรี่แวร์อินเตอแวร์ นักข่าวออนไลน์ไม่ค่อยเขียนข่าวเชิงลึก ต้องคม ชัด ลึก  ลดเพิ่ม สร้าง เลิก หาทรงตัวเอง และสร้างแบรนด์ตัวเองออก ถ้านึกถึงคุณ นึกถึงอะไร ต้องสร้าง identity การพาดหัวข่าวก็เป็นไอเดนนิตี้ เช่น นิตยสารดิฉัน พาดหัวให้เป็นเอกลักษณ์ เช่น โธ่ ปุ๋ย จะกู่ร้องป้องรักให้ก้องโลก หาเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกข่าว เป็นเบรนด์ ข่าวของคุณเป็นแบรนด์ ต้องเอาข่าวที่เราทำมาลงบล๊อก แต่ต้องแน่ใจว่าข่าวที่เขียนมีมุม มีเอกลักษณ์ เราเขียนลงบล๊อกเราก็ได้  จากนั้นจงวิเคราะห์นักข่าวออนไลน์ด้วยกันเอง เช่น ทำไมคนๆหนึ่งต้องมีอะไร เขียนอะไร  ทวิตเตอร์ตัวตนของเราเป็นแบรนด์ ถ้าเราไม่โดดเด่น วันนึงเขาก็เอาคนอื่นมาแทนเราได้ จากนั้นต้องกล้าเลือกที่จะทำอะไร ต้องกล้าพูดกล้าคิด ถ้าไม่อย่างนั้นจะเป็นเหมือนคนทั่วไปที่หาที่ไหนก็ได้  และต้องเรียนรู้ตลอดเวลา หิวตลอดเวลา จงทำตัวโง่ ไม่รู้ก็ต้องหาคนรู้ ไม่มีใครทำอะไรทำคนเดียวแล้วประสบความสำเร็จ วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน เมื่อใดโอกาสมาต้องจับโอกาสและพลิกขึ้นมา

เรามีหน้าที่สร้างจุดแข็ง ไม่ใช่ลบจุดอ่อน  

ตัน โออิชิ บอกว่า มีคน 3 ประเภท คือ
1. โอกาสมาตลอดเวลาแต่ไม่คว้า
2.มีโอกาสแล้วคว้าไว้  แต่ถ้าเราไม่เตรียมตัวไว้ตลอดเวลา โอกาสมาเราจะรับโอกาสไม่ได้ เปรียบเป็นกองหน้า ลูกบอลมาไม่เตรียมพร้อมก็เสร็จเลย
3. ไม่มีโอกาสเลย คนเหล่านี้ต้องสร้างโอกาส ไขว่คว้าโอกาส ซึ่งโอกาสจะมาจากการเตรียมตัว และเราต้องมีจุดแข็งของตัวเอง จึงต้องถามตัวเองว่าเราเก่งอะไร หน้าที่เรามีหน้าที่สร้างจุดแข็ง ไม่ใช่ลบจุดอ่อน  คนเราต้องมีเมนเตอร์ ต้องหาผู้ใหญ่สักคนที่เอ็นดูเรา 

ขอบคุณข้อมูลจาก @mktmag ห้องอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวดิจิทัลรุ่นที่ 2 ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

ต่อไปจะเขียนเรื่ออะไรดีล่ะทีนี้ โปรดติดตาม 

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

เทรนด์ใหม่วงการข่าวในSocail Media

          Mass communication หรือ สื่อสารมวลชน ตั้งแต่ที่เล่าเรียนมาก็เข้าใจว่า การส่งข้อมูลข่าวสารให้ไปถึงผู้รับและการสื่อสารมวลชนจะบรรลุเป้าหมาย ต้องมีผู้ส่งสาร มีสาร มีผู้รับสาร และมีสื่อหรืออุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่ใช้ในการส่งสาร เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งตีพิมพ์ และภาพยนตร์ รวมๆแล้วก็คือ สื่อดั้งเดิมที่จะต้องมีต้นทุนในการผลิตไม่มากก็น้อย สิ่งเหล่านี้เป็นอดีตที่ยังคงมีอยู่ และมีสิ่งที่เรียกว่า Social Media  เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการทำหน้าที่สื่อ ที่ใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องมีสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หรือหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ก็สามารถที่จะเป็น จะผลิตภาพยนตร์ คลิปวิดีโอ ภาพถ่าย หรือแม้แต่บทความ แม้กระทั่งเรื่องส่วนตัว เผยแพร่ให้สาธารณะชนได้รับรู้ในวงกว้างได้ โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนจำนวนมาก จนเกิดคำว่า "สื่อพลเมือง Citizen Journalism " ขึ้นมา

          ใครๆก็สามารถเป็นสื่อได้ หลายคนเป็นคนดังจากสื่อพลเมืองนี้ เช่นล่าสุด ก็คือ น้องจ๊ะ คันหู ที่น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก แม้กระทั่งในวงการข่าวเอง หลายสำนักข่าวให้ความสำคัญกับการส่งข่าวผ่านข้อความ 140 ตัวอักษร ผ่านทวิตเตอร์ ใครทวิตบ่อยๆประเด็นดีๆ ก็มีโอกาสก้าวหน้า และมีผลต่อการประเมินการขึ้นเงินเดือน หรือรับเข้าทำงาน
         
          คำว่า Social Medea  ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และยังดำรงดำแหน่งกรรมการบริหารสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อนุกรรมการวิชาการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มองว่าในแง่มุมของการสื่อสารเดิมที่มีอยู่ โดยเนื้อแท้ จะเป็นการสื่อสารในทางเดียว one way communication เนื้อหาไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง ถูกกำหนดโดยผู้ผลิต แต่ผู้บริโภคไม่สามารถคัดค้าน เปลี่ยนแปลงหรือโต้แย้งได้  ทำได้อย่ามากก็โทรศัพท์หรือเขียนจดหมายไปร้องเรียนเท่านั้นต่างจาก Social Medea  ที่สามารถสื่อสารได้สองทาง
         
          ดร.มานะ บอกว่าเพียงแค่ประชาชนที่มีอินเทอร์เน็ต ก็สารมารถส่งผ่านข้อมูลข่าวสารได้อย่างง่ายดาย เพราะฉนั้นในวงการข่าวจึงต้องเปลี่ยนความคิด ตั้งแต่การทำข่าว โดยจะต้องเน้นผู้บริโภคมากขึ้น ต้องรู้ว่าผู้บริโภคอยากได้อะไร สนใจอะไร ไม่อย่างนั้นจะถูกมองว่าใช้โซเชียลมีเดียได้ไม่ครบ ยุคนี้ผู้บริโภคไม่ทน หงุดหงิดง่ายมาก Social Media  จึงมีพลังมาก นักข่าวทั่วโลกจึงต้องอยู่ในเทรนด์ ให้มากที่สุดเพราะโลกยุคใหม่เน้นการมีส่วนร่วม ไม่งกข้อมูล "เหมือนเด็กหน้าห้อง" อย่างน้อยนักข่าวต้องมีบล๊อกส่วนตัว (นี่คือเหตุผลที่ผมเริ่มสร้างบล๊อกส่วนตัวขึ้นมา)จะทำอะไรก็ต้องอั๊ปเดท ตลอดเวลา

          การหาประเด็นข่าว หรือหาแหล่งข่าว สามารถตามแหล่งข่าวใหม่ๆได้ง่ายขึ้น เช่นสมมุติว่ามีใครตายในท่าพิศดาร ถ้าเรานึกถึงใครถ้าเรามีSocail Media  ก็จะสามารถหาคนๆนั้นได้ เพราะนักวิชาการไม่ได้รู้ทุกเรื่อง บางที่ก็ตอบทุกเรื่องแม้แต่เรื่องที่ไม่รู้ ข่าวในอนาคตจะเลือกได้ ใครอยากอ่านอะไรจัดหนักให้ได้ เลือกได้เฉพาะข่าวนั้นๆ และจะสามารถดึงความร่วมมือจากผู้อ่านได้มากที่สุด ถ้าให้คนอ่านมีสิทธิตอบโต้ ขณะเดียวกัน เราก็สามารถที่จะสร้างชุมชนเป็นขอตัวเองได้ด้วย ขณะที่เราจะสามารถดึงองค์ความรู้จากฝูงชนมาใช้ประโยชน์ได้

          ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มคนติดตามได้ ? ดร.มานะ คนที่จะติดตามส่วนหนึ่งมาจากข้อความที่โพสต์หรือทวิต รูปภาพ ข้อมูลเด็ด สำนักข่าวในอนาคตต้องมีกิจกรรมคนบริโภคข่าว ให้คนที่ติดตามข่าวได้มีโอกาสมาเจอหน้ากัน และอีกเรื่องที่คนสนใจคื่อเรื่องซุปซิปนินทาและเบื้องหลังข่าว (ThaiPBSเดี๋ยวนี้เริ่มโพสต์เบื้องหลังการทำข่าว เช่นข่าวน้ำท่วมลงในแฟนเพจในเฟสบุ๊คแล้ว) แตการพูดคุยในลักษณะการตั้งคำถามจะเพิ่มจพนวนคนได้มากกว่า การเขียนข้อมูลก็สำคัญ การลิ้งข่าวที่มีคลิปสั้นๆก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีคนมาคลิกเป็นเพื่อนเพิ่มมากขึ้น หรือจะเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ใช้วิธีการขโมยเพื่อน ขโมยเพจ ลองดูว่าเขากดไลค์อะไร หรือเปิดดูว่าแหล่งข่าวฟอโลวใคร

          แต่สิ่งที่น่าสนใจสุดๆคือ  "เทรนด์ใหม่วงการข่าวใน Social Media"ถ้าสื่อยุคก่อนในวงการข่าวที่ขาดไม่ได้เห็นจะมีบรรณาธิการข่าว ดร.มานะบอกว่า มี 5 ตำแหน่งสำคัญ ที่จะเกิดขึ้นในกองบรรณาธิการข่าวในอนาคต ได้แก่   
  • Headline Optimiser
  • Social media editor
  • Data Journalism
  • Chief curator
  • Explainer Journalism
          สิ่งที่ทำได้ในการปรับตัวรับตำแหน่งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเหล่านี้ คือการสร้างแบรนด์ตัวเองทำให้คนติดตามและมีส่วนร่วมมากๆ  ส่วนจะสร้างแบรนด์อย่างไร

ขอบคุณข้อมูลจากห้องอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวดิจิทัลรุ่นที่ 2 ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์  @dr_mana

          บทความต่อไป จะมาคุยเชิงลึก...โลกธุรกิจข่าวไร้พรหมแดนกับกูรูสื่อดิจิทัล .ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย หรือ ขาโหด แห่งรายการ SME ตีแตกช่อง 5 ใครอยากรู้ว่าจะสร้างแบรนด์ให้ตัวเองอย่างไรประเด็นต่อเนื่องห้ามพลาดนะครับ