จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

เทรนด์ใหม่วงการข่าวในSocail Media

          Mass communication หรือ สื่อสารมวลชน ตั้งแต่ที่เล่าเรียนมาก็เข้าใจว่า การส่งข้อมูลข่าวสารให้ไปถึงผู้รับและการสื่อสารมวลชนจะบรรลุเป้าหมาย ต้องมีผู้ส่งสาร มีสาร มีผู้รับสาร และมีสื่อหรืออุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่ใช้ในการส่งสาร เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งตีพิมพ์ และภาพยนตร์ รวมๆแล้วก็คือ สื่อดั้งเดิมที่จะต้องมีต้นทุนในการผลิตไม่มากก็น้อย สิ่งเหล่านี้เป็นอดีตที่ยังคงมีอยู่ และมีสิ่งที่เรียกว่า Social Media  เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการทำหน้าที่สื่อ ที่ใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องมีสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หรือหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ก็สามารถที่จะเป็น จะผลิตภาพยนตร์ คลิปวิดีโอ ภาพถ่าย หรือแม้แต่บทความ แม้กระทั่งเรื่องส่วนตัว เผยแพร่ให้สาธารณะชนได้รับรู้ในวงกว้างได้ โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนจำนวนมาก จนเกิดคำว่า "สื่อพลเมือง Citizen Journalism " ขึ้นมา

          ใครๆก็สามารถเป็นสื่อได้ หลายคนเป็นคนดังจากสื่อพลเมืองนี้ เช่นล่าสุด ก็คือ น้องจ๊ะ คันหู ที่น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก แม้กระทั่งในวงการข่าวเอง หลายสำนักข่าวให้ความสำคัญกับการส่งข่าวผ่านข้อความ 140 ตัวอักษร ผ่านทวิตเตอร์ ใครทวิตบ่อยๆประเด็นดีๆ ก็มีโอกาสก้าวหน้า และมีผลต่อการประเมินการขึ้นเงินเดือน หรือรับเข้าทำงาน
         
          คำว่า Social Medea  ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และยังดำรงดำแหน่งกรรมการบริหารสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อนุกรรมการวิชาการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มองว่าในแง่มุมของการสื่อสารเดิมที่มีอยู่ โดยเนื้อแท้ จะเป็นการสื่อสารในทางเดียว one way communication เนื้อหาไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง ถูกกำหนดโดยผู้ผลิต แต่ผู้บริโภคไม่สามารถคัดค้าน เปลี่ยนแปลงหรือโต้แย้งได้  ทำได้อย่ามากก็โทรศัพท์หรือเขียนจดหมายไปร้องเรียนเท่านั้นต่างจาก Social Medea  ที่สามารถสื่อสารได้สองทาง
         
          ดร.มานะ บอกว่าเพียงแค่ประชาชนที่มีอินเทอร์เน็ต ก็สารมารถส่งผ่านข้อมูลข่าวสารได้อย่างง่ายดาย เพราะฉนั้นในวงการข่าวจึงต้องเปลี่ยนความคิด ตั้งแต่การทำข่าว โดยจะต้องเน้นผู้บริโภคมากขึ้น ต้องรู้ว่าผู้บริโภคอยากได้อะไร สนใจอะไร ไม่อย่างนั้นจะถูกมองว่าใช้โซเชียลมีเดียได้ไม่ครบ ยุคนี้ผู้บริโภคไม่ทน หงุดหงิดง่ายมาก Social Media  จึงมีพลังมาก นักข่าวทั่วโลกจึงต้องอยู่ในเทรนด์ ให้มากที่สุดเพราะโลกยุคใหม่เน้นการมีส่วนร่วม ไม่งกข้อมูล "เหมือนเด็กหน้าห้อง" อย่างน้อยนักข่าวต้องมีบล๊อกส่วนตัว (นี่คือเหตุผลที่ผมเริ่มสร้างบล๊อกส่วนตัวขึ้นมา)จะทำอะไรก็ต้องอั๊ปเดท ตลอดเวลา

          การหาประเด็นข่าว หรือหาแหล่งข่าว สามารถตามแหล่งข่าวใหม่ๆได้ง่ายขึ้น เช่นสมมุติว่ามีใครตายในท่าพิศดาร ถ้าเรานึกถึงใครถ้าเรามีSocail Media  ก็จะสามารถหาคนๆนั้นได้ เพราะนักวิชาการไม่ได้รู้ทุกเรื่อง บางที่ก็ตอบทุกเรื่องแม้แต่เรื่องที่ไม่รู้ ข่าวในอนาคตจะเลือกได้ ใครอยากอ่านอะไรจัดหนักให้ได้ เลือกได้เฉพาะข่าวนั้นๆ และจะสามารถดึงความร่วมมือจากผู้อ่านได้มากที่สุด ถ้าให้คนอ่านมีสิทธิตอบโต้ ขณะเดียวกัน เราก็สามารถที่จะสร้างชุมชนเป็นขอตัวเองได้ด้วย ขณะที่เราจะสามารถดึงองค์ความรู้จากฝูงชนมาใช้ประโยชน์ได้

          ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มคนติดตามได้ ? ดร.มานะ คนที่จะติดตามส่วนหนึ่งมาจากข้อความที่โพสต์หรือทวิต รูปภาพ ข้อมูลเด็ด สำนักข่าวในอนาคตต้องมีกิจกรรมคนบริโภคข่าว ให้คนที่ติดตามข่าวได้มีโอกาสมาเจอหน้ากัน และอีกเรื่องที่คนสนใจคื่อเรื่องซุปซิปนินทาและเบื้องหลังข่าว (ThaiPBSเดี๋ยวนี้เริ่มโพสต์เบื้องหลังการทำข่าว เช่นข่าวน้ำท่วมลงในแฟนเพจในเฟสบุ๊คแล้ว) แตการพูดคุยในลักษณะการตั้งคำถามจะเพิ่มจพนวนคนได้มากกว่า การเขียนข้อมูลก็สำคัญ การลิ้งข่าวที่มีคลิปสั้นๆก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีคนมาคลิกเป็นเพื่อนเพิ่มมากขึ้น หรือจะเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ใช้วิธีการขโมยเพื่อน ขโมยเพจ ลองดูว่าเขากดไลค์อะไร หรือเปิดดูว่าแหล่งข่าวฟอโลวใคร

          แต่สิ่งที่น่าสนใจสุดๆคือ  "เทรนด์ใหม่วงการข่าวใน Social Media"ถ้าสื่อยุคก่อนในวงการข่าวที่ขาดไม่ได้เห็นจะมีบรรณาธิการข่าว ดร.มานะบอกว่า มี 5 ตำแหน่งสำคัญ ที่จะเกิดขึ้นในกองบรรณาธิการข่าวในอนาคต ได้แก่   
  • Headline Optimiser
  • Social media editor
  • Data Journalism
  • Chief curator
  • Explainer Journalism
          สิ่งที่ทำได้ในการปรับตัวรับตำแหน่งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเหล่านี้ คือการสร้างแบรนด์ตัวเองทำให้คนติดตามและมีส่วนร่วมมากๆ  ส่วนจะสร้างแบรนด์อย่างไร

ขอบคุณข้อมูลจากห้องอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวดิจิทัลรุ่นที่ 2 ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์  @dr_mana

          บทความต่อไป จะมาคุยเชิงลึก...โลกธุรกิจข่าวไร้พรหมแดนกับกูรูสื่อดิจิทัล .ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย หรือ ขาโหด แห่งรายการ SME ตีแตกช่อง 5 ใครอยากรู้ว่าจะสร้างแบรนด์ให้ตัวเองอย่างไรประเด็นต่อเนื่องห้ามพลาดนะครับ