จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทางสร้างแบรนด์แบบขาโหด


             ต้อง “บูรณาการ integration กระบวนการรวมเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่อง  ช่วงนี้อาจได้ยินบ่อยมาก แทบทุกวันจากปาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  นักข่าวหลายคนอาจเบื่อกับคำๆนี้  แต่คำนี้นักข่าวต้องนำมาปรับใช้กับตัวเองเพื่อให้เป็นอภิชาตินักข่าวให้ได้  อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย หรือ ขาโหด แห่งรายการ SME ตีแตก เคยกล่าวไว้ว่า

บูรณาการเป็นให้ได้ทุกสิ่ง คาถากันถูกปลด

                เมื่อก่อนนักข่าวต่างประเทศ ทำงานเป็นทีมๆละ 3 คน นักข่าว ช่างภาพ ผู้ช่วยช่างภาพ แต่ปัจจุบันแค่คนเดียวทำได้ทุกสิ่งอย่าง  เพราะแหล่งรายได้ของสื่อเก่าจะลดลง เช่นค่าโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือ ฟรีทีวี แต่แนวโน้มที่สำนักข่าวจะไล่พนักงานออกไม่มี ยกเว้นว่าบางเล่มจะเจ๊ง หรือค่อยๆลดคนลง โดยการบีบ เพิ่มงาน ไม่ขึ้นเงินเดือน  ซึ่งคนที่จะอยู่ได้ในองค์กรได้ ต้องมี Differentiation คือในหนึ่งองค์กรจะมีคนเก่งๆในองค์กร 20 % ซึ่งคนกลุ่มนี้จะได้รับการยอมรับ เจ้าของบริษัทจะยกย่องให้เป็นซุปเปอร์สตาร์ และจะมีคนอีก 70 % กลางๆและจะมีอีก 10%ที่จะให้ออก  ซึ่งในบางบริษัทจะให้คนออก 5% เพื่อปรับองค์กรที่เปรียบกับน้ำ ถ้ามันอยู่กับที่จะนิ่งและเน่าจึงต้องรับคนใหม่เข้ามา

                ฉะนั้นก็ต้องมาคิดต่อแล้วว่า เราอยู่ใน 20%-70%หรือ 10 %    ถ้าอยู่ใน 70 บริษัทจะพยายามพัฒนาทักษะให้ มีสิทธิเกิด แต่ถ้าอยู่ใน 10 % มีสิทธิออกอย่างไม่มีความปราณี เพราะคุณอาจไม่เหมาะกับการเป็นพนักงานในบริษัทนี้ ยกตัวอย่างเช่น การเป็นนักข่าว ถ้าไม่รุ่งไม่ได้หมายความว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพอื่นๆ เพราะถ้าเป็นนักข่าวอยู่ 3 ปีแล้วจะไปทำอาชีพอย่างอื่นไม่ได้ ก็จะกลายเป็นบุคคลที่ เป็นเหมือนไม่เป็น มีเหมือนไม่มี บริษัทต้องรีบบอกว่าไปทำอย่างอื่นดีกว่า เหมาะกับวิชาชีพอย่างอื่นมากกว่าอันนี้  คือ 10 %   (ถามตัวเองสิ ว่าถ้าอยู่ใน 10%รึเปล่า)

ภาพนักข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลมีผมด้วยในนี้
           
“นักข่าวมีสิทธิถูกไล่ออก ไม่ก็ถูกบีบออก ได้ตลอดเวลา ในเมืองนอก ทางออกคือ ต้องเบรนดิ้งตัวเอง”


                ถ้ามองในมุมนักข่าวออนไลน์ ต้องเก่งกว่านักข่าวในสื่อเก่า คือต้องเป็นอภิชาตินักข่าว ต้องแย่กว่ารุ่นเดิมไม่ได้ คนรุ่นใหม่ต้องเก่งกว่าคนรุ่นเก่า เพราะสภาพแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ยากกว่าคนรุ่นเก่า การเป็นนักข่าวออนไลน์ต้องรู้ให้รอบ ออนไลน์ขายความเร็ว นักข่าวต้องขายเซ้นต์ ต้องไปหยิบข่าวที่คนอยากรู้ เร็วอย่างเดียวไม่พอ ต้องเป็นทั้งนักข่าวออนไลน์และนักข่าวกระดาษ ดึงสิ่งที่นักข่าวกระดาษทำแล้วดีเข้าหาตัว อันไหนเขาทำไม่ดีทำให้ดีกว่าเขา 

                 จำไว้ ถ้าเราจะรอด จะต้องแบรนดิ้งตัวเอง รูปภาพก็เป็นสิ่งสำคัญมาก  ต้องทำงานเพิ่มกว่าจะได้คนตามเพิ่ม และจะสร้างแบรนด์ตัวเองไม่ได้ ถ้าคุณเป็นดาวเคราะห์ คุณต้องเป็นดาวฤกษ์เท่านั้นถึงจะสร้างแบรนด์ให้ตัวเองได้  ถ้าคุณไม่ใช่ดาวฤกษ์ ต้องมีดาวฤกษ์ดวงอื่นๆมาช่วยส่องแสง คนที่จะเป็นดาวฤกษ์จะต้องเป็นนายใหญ่เข้าหาเขาซะ  

                 ในวงการข่าวต่อไปทุกค่ายต้องบูรณาการให้มีทุกสื่อ อย่างสมบูรณ์แบบ ถ้าเป็นอย่างนั้น อะไรจะเกิดขึ้น อาจต้องมีการเอาคนใหม่เข้ามา  คนอายุมาก ประสบการมากแต่เป็นประสบการณ์ในยุคเก่า ต้องถูกเปลี่ยนออก แล้วจะมีอนาคตไหม คนมาอยู่ช่อง 3 ไม่ใช่จะดังหมด คนที่ไปอยู่ช่องสามที่จะดังได้ต้องมีดาวฤกษ์ช่วยดัน คือ กิตติ สิงหาปัด และสรยุทธ สุทัศนะจินดา จงไปอยู่ใกล้คนที่ให้แสงสว่างคุณได้ 

                รู้หรือไม่ทำไมเนชั่นทรงพลังสูงสุด คำตอบคือ ดูง่ายๆ มีทีวี มีดาวเทียม มีหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่เนชั่นโตได้เพราะเนชั่นให้นักข่าวทุกคนเล่นทวิตเตอร์  หลายคนอาจมองว่ามีผลไหม ยกตัวอย่างโฆษณาตัวแรกที่เห็นผลคือ ดีเทค ก่อนที่จะยิงโฆษณาทีวี ยิงผ่านยูทุปมีคนไปดูแล้วกว่า 7 หมื่นคน

ยุทธศาสตร์ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์
                
                  แต่สำหรับเรา คนธรรมดา คือต้องมียุทธศาสตร์ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ มีแฟนเพจ  และข้อเสียของแฟนเพจคือจะไม่เพิ่มถ้าไม่บอก  แต่ทวิตเตอร์ จะเพิ่มขึ้น  เพิ่มขึ้น  การเบรนดิ้งตัวเองจะต้องรู้จักใช้เฟสบุ๊ค ยูทุป ทวิเตอร์ เบรนดิ้งตัวเอง เพราะถ้าเข้าตาจนจริงๆ ถูกไล่เราออกจะทำอย่างไร  ฉนั้นต้องสร้างแบรนด์ตัวเอง ให้เป็นสาธารณะ โดยการสร้างบล๊อก และคู่แข่งขันของนักข่าวคือบล๊อกเกอร์    ผู้เชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ซึ่งจะกลายเป็นคู่แข่งของนักข่าว บล๊อกเกอร์สามารถทำได้ทุกอย่าง เขียนได้ทุกอย่าง

คนส่วนใหญ่จะเล่นทวิตเตอร์แบบแพนด้า
                
                  คนส่วนใหญ่จะเล่นทวิเตอร์แบบแพนด้า (แบบช่วงๆ) ทวิตเตอร์คนธรรมดาจะกลายเป็นแบรนด์ได้ ต้องหาสิ่งที่แตกต่างคือการขายความคิด เพราะเราไม่สามารถเป็นนักข่าวตลอดชีวิตได้  ถ้าเป็นนักข่าวออนไลน์แล้วทำข่าวเหมือนกันหมด ก็ต้องหาข้อแตกต่างที่เราชอบ ดูว่าคนที่อยู่ในวงการที่เราเชี่ยวชาญเขาอยู่ในส่วนไหน โลกยุคใหม่จะเป็นเบรนด์ได้เพราะเทคโนโลยี เช่นสามารถสร้างหนัง วิทยุของตัวเองได้ ในแง่โลกออนไลน์ ต้องเป็นตัวของตัวเอง innovation ชอบข่าวที่มุมมองข่าว คือความแตกต่าง ข่าวๆเดียวกันคุณจะมองในมุมไหน ต้องมีมุมมอง คมชัดลึก เพื่อจะได้ฉีกข่าวเดียวนี้ออกไปเพื่อให้เกิดมูลค่า

กสทช.มา เงินในวงการจะกระจายมาก สุดท้ายถ้าไม่เกิดผล เงินจะมาในโลกออนไลน์
                
                 ต้องมียุทธศาสตร์การโชเชียลมีเดีย หาพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญสักอย่างหนึ่ง ต่อไปมี กสทช เงินในวงการที่วีจะมากขึ้นและอาจมีการเปิดช่องทีวีเพิ่ม ทำให้จำนวนเงินในการโฆษณากระจายออกไป  เช่นราเมงเจ้าหนึ่งยังไม่ได้ประกาศผ่านสื่อ แต่บอกผ่านโซเชียลมีเดีย ถึง 6 หมื่น ถ้าคุณมีแฟนเพจซักหมื่นคนเท่ากับมีทุน ต่อไปดูได้เลยถ้า กสทช.มา เงินในวงการจะกระจายมาก สุดท้ายถ้าไม่เกิดผล เงินจะมาในโลกออนไลน์ ตอนนี้บล๊อกเกอร์เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก บล๊อกเกอร์จะเป็นคู่แข่งนักข่าว ถ้าเราสนใจในเรื่องใด ก็ทำไปเลย จากนี้ไปต้องมีเซนต์ ต้องเขียนบทความ

สร้างแบรนด์แบบจังกึมมุ่งมั่นไปให้ถึงและมีคนช่วยดัน

                แดจังกึม เป็นซีรีย์ เกาหลีที่น่าสนใจมาก แดจังกึม แม่เป็นซังกุงคนหนึ่งในวัง ตอนหลังหนีออกมาจากวัง แม่บอกจังกึมว่า แม่อยากเป็นซังกุงสูงสุด จังกึมก็ทำทุกอย่างให้เข้ามาในวัง แนวคิดของจังกึมคือทำอย่างไรให้โดดเด่น เลือกทำอย่างหนึ่งให้เด่น โดยหากุนซือ ไปหากุนซือ เพื่ออุ้มชูเรา แต่กุนซือนั้นต้องหวังดีกับเราอุ้มชูเรา ทำให้เราประสบความสำเร็จโดยไม่อิจฉาเรา ฮันซังกุง สอนแดจังกึมทำอาหาร เวลาแข่งทำอาหาร ฮันซังกุงได้รับการชื่นชมแต่ก็ยังบอกว่าที่ทำได้เพราะจังกึม  แม้ตอนหลังแดจังกึมถูกแกล้งจนกลายเป็นนักโทษ ก็คิดว่าจะทำอย่างไรให้กลับเข้าไปในวังให้ได้ โดยการเรียนหมอ และทำทุกทางให้เข้าไปในวังจนได้ และประสบความสำเร็จในที่สุด

ก่อร่างสร้างแบรนด์ ต้องอย่างงี้ๆ  ยกตัวอย่างกรณี นักข่าวออนไลน์

1.ต้องกำหนดเป้าหมายว่าในอนาคตจะเป็นอะไรดี         
2.ต้องมีวิสัยทัศน์ มองให้ออกว่าอนาคตสื่อจะเป็นอย่างไร บล๊อกเราไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เราทำก็ได้  อาจเป็นเรื่องที่ชอบ สื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงสูง ต่อไปนักข่าวจะไม่ใช่มนุษย์พันธุ์เดียวที่รายงานข่าว จะมีบล๊อกเกอร์ และนักข่าวพลเมืองมาลดบทบาท
3.โอกาสของเรามีไหม ต้องวิเคราะห์เจ้าสำนัก บู๊ตึ้ง เซ่าหลิน (หัวหน้าสำนัก) บางคนความสามารถไม่จำเป็น คนเก่งมากๆไปไม่ได้ไกลเพราะเพื่อนน้อย คนที่ประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่คนเก่งอย่างเดียว เก่งสู้เฮงไม่ได้ ต้องเฮงด้วยเคล็ดลับการประสบความสำเร็จ คือต้องอยู่ถูกที่ถูกเวลา คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ อยู่กับที่ตลอดเวลา ต้องดูว่าเราอยู่ถูกที่ถูกเวลา และมีนายถูกคน ก็จะเกิด opportunity สุงที่สุด บางคนคิดว่าอยู่ที่นี่แล้วออกไปไหนไม่ได้ แต่พอออกไปแล้วโอกาสมหาศาล ต้องดูว่าเราอาจเหมาะกับที่อื่นมากกว่า ไม่ใช่ว่าเราไม่เหมาะกับที่อื่น ถ้าเราไม่มี opportunity เลยอย่าใช้ชีวิตแบบตามลมปลิว ไม่มีใครใช้ชีวิตแบบตามลมปลิวแล้วจะประสบความสำเร็จในระยะยาว 

ให้ความสำคัญสิ่งที่ไม่สำคัญพอๆกับสิ่งที่สำคัญ

                จากนั้นก็หาว่าอะไรควรทำก่อนควรทำหลัง เคล็ดลับสตีพจ๊อกบ ให้ความสำคัญสิ่งที่ไม่สำคัญพอๆกับสิ่งที่สำคัญ อะไรควรทำก่อนอะไรควรทำหลัง อะไรไม่ควรทำ หาให้ได้ว่าคุณเก่งอะไร เป็นนักข่าวประเภทไหน ประเภทนักวิเคราะห์รึเปล่า หรือแอคทีพ พวกอุดมการณ์ เน้นความเร็วอย่างเร็วรึเปล่า ต้องไปเป็นกลุ่มรึเปล่า ทำคนเดียวแล้วไม่เกิด บางทีไม่ว่างให้เพื่อนทำให้ ถามตัวเองว่าเราเป็นคนประเภทไหน  จูงใจ หาให้ได้ และจบริหารตัวเองอย่างถูกต้อง  และต้องเป็นคนที่มี อินโนเวชั่น เช่น จาพนม มีคนที่หน้าตาไม่ดี แต่นวัตตนเองจนเป็นดาราระดับต้นๆ ถ้าจะเป็นนักข่าวที่เก่ง อะไรที่นักข่าวอื่นไม่เคยทำมาก่อน ไม่เคยมีการทำมาก่อน อะไรที่คนในวงการชอบ เช่นความเร็วอย่าเร็วเกินไป ประมวลก่อน โดยเฉพาะข่าวที่ชี้เป็นชี้ตาย จะทำให้คนจะ อะไรที่คนในวงการให้ความสำคัญน้อย เพิ่มอารมข่าว ใส่ความเป็นตัวตนไปด้วย แม้ในตอนเรียนจะบอกว่า อย่าใช่อารมณ์ แต่คนไทยชอบ อะไรที่ไม่จำเป็นเลิก เลิกเข้าออฟฟิต คุณสามารถทำข่าวได้เอเวอรี่แวร์อินเตอแวร์ นักข่าวออนไลน์ไม่ค่อยเขียนข่าวเชิงลึก ต้องคม ชัด ลึก  ลดเพิ่ม สร้าง เลิก หาทรงตัวเอง และสร้างแบรนด์ตัวเองออก ถ้านึกถึงคุณ นึกถึงอะไร ต้องสร้าง identity การพาดหัวข่าวก็เป็นไอเดนนิตี้ เช่น นิตยสารดิฉัน พาดหัวให้เป็นเอกลักษณ์ เช่น โธ่ ปุ๋ย จะกู่ร้องป้องรักให้ก้องโลก หาเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกข่าว เป็นเบรนด์ ข่าวของคุณเป็นแบรนด์ ต้องเอาข่าวที่เราทำมาลงบล๊อก แต่ต้องแน่ใจว่าข่าวที่เขียนมีมุม มีเอกลักษณ์ เราเขียนลงบล๊อกเราก็ได้  จากนั้นจงวิเคราะห์นักข่าวออนไลน์ด้วยกันเอง เช่น ทำไมคนๆหนึ่งต้องมีอะไร เขียนอะไร  ทวิตเตอร์ตัวตนของเราเป็นแบรนด์ ถ้าเราไม่โดดเด่น วันนึงเขาก็เอาคนอื่นมาแทนเราได้ จากนั้นต้องกล้าเลือกที่จะทำอะไร ต้องกล้าพูดกล้าคิด ถ้าไม่อย่างนั้นจะเป็นเหมือนคนทั่วไปที่หาที่ไหนก็ได้  และต้องเรียนรู้ตลอดเวลา หิวตลอดเวลา จงทำตัวโง่ ไม่รู้ก็ต้องหาคนรู้ ไม่มีใครทำอะไรทำคนเดียวแล้วประสบความสำเร็จ วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน เมื่อใดโอกาสมาต้องจับโอกาสและพลิกขึ้นมา

เรามีหน้าที่สร้างจุดแข็ง ไม่ใช่ลบจุดอ่อน  

ตัน โออิชิ บอกว่า มีคน 3 ประเภท คือ
1. โอกาสมาตลอดเวลาแต่ไม่คว้า
2.มีโอกาสแล้วคว้าไว้  แต่ถ้าเราไม่เตรียมตัวไว้ตลอดเวลา โอกาสมาเราจะรับโอกาสไม่ได้ เปรียบเป็นกองหน้า ลูกบอลมาไม่เตรียมพร้อมก็เสร็จเลย
3. ไม่มีโอกาสเลย คนเหล่านี้ต้องสร้างโอกาส ไขว่คว้าโอกาส ซึ่งโอกาสจะมาจากการเตรียมตัว และเราต้องมีจุดแข็งของตัวเอง จึงต้องถามตัวเองว่าเราเก่งอะไร หน้าที่เรามีหน้าที่สร้างจุดแข็ง ไม่ใช่ลบจุดอ่อน  คนเราต้องมีเมนเตอร์ ต้องหาผู้ใหญ่สักคนที่เอ็นดูเรา 

ขอบคุณข้อมูลจาก @mktmag ห้องอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าวดิจิทัลรุ่นที่ 2 ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

ต่อไปจะเขียนเรื่ออะไรดีล่ะทีนี้ โปรดติดตาม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น