จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารข่าวสารในภาวะวิกฤต เมื่อคนไทยไร้ความเชื่อถือภาครัฐ

          ทุกวันนี้หลายคนอาจให้ความหมายของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ.ต่างออกไปจากความหมายที่ถูกต้อง เช่นศูนย์ปิดข่าวภัยพิบัติแห่งชาติ ,ศูนย์เปลี่ยนแปลงข้อมูลจน(กู)รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย หรือ อาจจะเป็นว่า ศูนย์ไร้ประสิทธิภาพในการป้องกันภัยน้ำท่วม ซึ่งข้องข้างลดความน่าเชื่อถือของ ศปภ.ที่ย่อมาจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แต่มันก็มีเหตุมีผล เพราะไม่ใช่อยู่ดีๆคนจะมาพูด  เพราะการสื่อสารของ ศปภ.เองที่มีปัญหา ผมมีโอกาสได้ฟัง ความเห็นจากนักวิชาการด้านการสื่อสาร ประเมินการสื่อสารของภาครัฐไว้ดังนี้ ลองเทียบเคียงดูนะครับ
          อาจารย์สุภาพร โพธิ์แก้ว ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในรายการพิเศษ ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม ทาง ThaiPBS  เมื่อคืนวันที่ 22 ตค. 54  โดยกล่าวถึงสถานการณ์ในภาวะวิกฤติน้ำท่วม เช่นนี้  มีผู้ได้รับผลกระทบที่เกี่ยวข้องเป็นวงกว้าง  และต้องการได้รับการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและทันการ และต้องการภูมิปัญญาที่หาทางออกอย่างมั่นใจว่าทางออกจะไปทางใดได้บ้างจึงจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสารที่ดี เพราะเมื่อการตัดสินใจออกไป แต่มีการสื่อสารที่ไม่ดีทำให้การนำไปปฏิบัติพลาดได้
          ก่อนอื่นไปรู้จักกับสื่อสารข้อมูล  อาจารย์สุภาพร ประเมินการสื่อสารของภาครัฐ ในภาวะวิกฤติว่า มีแนวคิด 2 แนวคิด
         
           1 .การสื่อสารในเชิงการบัญชาการและการสั่งการ ซึ่งแนวคิดดั้งเดิมมักใช้ครอบงำการจัดการการสื่อสารของหลายประเทศ ซึ่งสร้างความล้มเหลวในการจัดการภัยพิบัติ จนกระทั่งครั้งที่มีการตั้งคำถามแล้วเกิดเปลี่ยนแนวคิดใหม่ คือเหตุการณ์ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่ เมืองนิวออร์ลีนส์ มลรัฐหลุยส์เซียน่า จากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา เหตุการณ์เกิดขึ้นเมืองเดียวแต่ความรุนแรงควบคุมไม่ได้และบานปลาย เนื่องจากการสื่อสาร ซึ่งหัวใจมาจากการสื่อสาร ที่มีทั้งการสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน ในระดับอำนาจการสั่งการที่ขัดแย้งกัน สื่อในช่วงนั้นจะวิจารณ์ว่าใครทำผิดใครถูก “ช่วงนั้นถ้าใครติดตามอ่าน นิตยสารไทม์ หรืออื่นๆสื่อจะมีการวิเคราะห์ว่า ตกลงใครผิดใครถูก” คำถามนี้เรากำลังเผชิญอยู่ ว่าการตัดสินใจในขั้นไหนที่ผิด ยกตัวอย่าง เมืองนิวออร์ลีนส์บอกว่ามีอำนาจแค่นี้การการปฏิบัติการ ขณะที่รัฐบาลกลางก็บอกว่าไม่มีสิทธิ์ก้าวล่วงจนกว่าส่วนท้องถิ่นจะร้องขอความช่วยเหลือมา ผลที่เกิดคือความรุนแรงควบคุมไม่ได้และบานปลาย
 
        2.การสื่อสารที่พบว่ามีความผิดพลาด ในแนวคิดเก่าเชื่อว่าการสื่อสารต้องเป็นทิศทางเดียว ในลักษณะจากบนลงล่าง จากผู้ชำนาญการหรือผู้ตัดสินใจแล้วชี้ไปในทางเดียว ซึ่งพบว่าการสื่อสารลักษณะนี้ ในภาวะวิกฤติที่กระทบคนจำนวนมาก พอชี้ไปในทิศทางเดียวแล้วจะเกิดการเหมารวม และกลายเป็นทิศทางที่ไม่สามารถตอบรับผลกระทบที่เกิดอย่างหลากหลายและมีผลต่อกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน

          จึงพบว่ามีการสื่อสารแบบสองทิศทางเท่านั้นแหละ ที่จะระดมทำให้เห็นภาพมวลรวมความเกี่ยวโยงก่อนตัดสินใจและรอบคอบ ในภาวะแบบนี้ถ้าตัดสินใจพลาด จะทำให้วิกฤติบานปลายและเหลือกำลัง  ซึ่งครั้งนี้ มีเหตุว่าการฟังเสียงสะท้อนหรือ การรับเสียงสะท้อนจากบุคคลที่หลากหลายกลับขึ้นมา ซึ่งภาคประชาชนพยายามจะสื่อสาร ให้ถึงหน่วยงานภาครัฐ โดยต้องมีคนกลางเข้ามาจัดการ และไม่เห็นการตอบกลับของประชาชนเป็นปัญหา  แต่ต้องเน้นเรื่องการสื่อสารสองทาง

          มายาคติ ที่นักจัดการการสื่อสารกลัวคือความตื่นตระหนก ที่ทุกครั้งทุกคนจะบอกว่าอย่าตื่นตระหนก และมองว่าความตื่นตระหนกเป็นปัญหา แต่ความเป็นจริงความตื่นตระหนกไม่ได้เป็นปัญหา เป็นเพียงอุณหภูมิที่ดี ว่าประชาชนตื่นตัว ซึ่งคาบเกี่ยวกันนิดเดียว ถ้าเราย้ำบอกว่าอย่าตื่นตระหนก แต่ข้อมูลไม่ชัดเจน ในขณะที่รายงานออกไปแล้วไม่ชัดเจนยิ่งจะทำให้เกิดการตื่นตระหนก ซึ่งเราจะทำให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนกได้ ข้อมูลการสื่อสารต้องเปิดเผยและเปิดกว้าง ในภาวะวิกฤติต้องให้รู้เท่าที่จำเป็น เพราะถ้ารู้มากไปจะทำให้การจัดการกับปัญหาลำบาก

         ซึ่งการสื่อสารของ ศปภ.ถ้าจะเทียบเคียงทางวิชาการกับสถานการณ์ปัจจุบัน  ก่อนเชื่อถือไม่เชื่อถือต้องชัดเจน เบื้องต้นประชาชนจะเชื่อถือข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐก่อน เพราะข้อมูลทุกอย่างทุกอย่างจะรวมอยู่ที่หน่วยงานภาครัฐ  แต่รัฐต้องมีความชัดเจนก่อน ต้องอย่าทำให้ประชาชนรู้สึกว่ากั๊กไว้รึเปล่า บอกข้อมูลไม่หมดรึเปล่า หมายความว่าถ้าไม่เกิดความชัดเจนประชาชนก็จะไม่เชื่อถือ  แม้แต่การแถลงข่าวต้องเปิดโอกาสให้นักข่าวได้ซักถาม เพื่อเป็นการสื่อสารสองทาง นักข่าวเป็นตัวแทนประชาชน  รัฐต้องไม่อธิบายแบบวิชาการ อย่ามัวแต่บอกเหตุของสิ่งที่เกิดอยู่ เพราะคนไม่ได้อยากรู้เหตุที่เกิดว่าเพราะอะไร แต่อยากรู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ

  กลไกล ศปภ.มีปัญหาคือการเตือนไม่ใช่การเตือน  ทุกวันนี้สิ่งที่ขาดก็คือคนที่ถอยออกมาประมวล การวัดอุณภูมิของสังคม การรับรู้ว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ในเรื่องของการสื่อสารในแต่ละวัน เพราะถ้าไม่มีทีมนี้จะปรับทิศทางยาก ซึ่งอุณภูมิวันนี้มีทั้งที่ดีขึ้นในบางเรื่อง เช่น ประชาชนรู้ว่าถึงจุดที่เขาจะต้องลุกขึ้นมาพึ่งตัวเอง  แต่หลายคนอาจจะมองว่าพึ่งรัฐไม่ได้ แต่ต้องมองว่าเป็นโจทย์ของการรับมือกับภัยพิบัติ ประชาชนต้องตระหนักในศักยภาพของตนเองและรู้ว่าตนเองทำได้ เพียงแต่จะต้องดูว่าต้องทำเรื่องใด เรียกร้องเรื่องใด และจะรู้เรื่องแบ่งปันให้คนรอบข้างอย่างใด

        ขณะที่อีกสิ่งเกิดขึ้น ในชุมชนเมือง สิ่งที่เป็นปัญหาความสัมพันธ์ทางสังคมแบบหลวมๆ เช่น บางบัวทอง คนที่อาศัยอยู่ล้วนทำงานในเมือง แต่เมื่อมีวิกฤติน้ำท่วมทำให้มีการเกาะเกี่ยวกันที่เหนียวแน่น เริ่มหันไปถามเพื่อนบ้าน ประชาชนเริ่มหันหน้าเข้าหากัน เพราะไม่มั่นใจต่อรัฐ รู้สึกไม่แน่นอน ซึ่งมีผลต่อการตั้งสติอย่างมากเมื่อเกิดความไม่ชัดเจน  ความไม่แน่ใจเกิดมาจากไหน เกิดมาจากการรับรู้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน เช่น ความเชื่อถือเพิ่งมา ในระยะหลังๆ เพราะที่ผ่านมา เคยบอกว่าหนึ่งกลับเป็นสอง บอกว่าไม่แต่กลับเป็นใช่ เกิดขึ้นหลายครั้งมากจนเกินไป จนกระบวนการแบบนี้ประชาชนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งๆที่ตอนนี้อาจจะมีเรื่องราวใหม่ๆที่เริ่มตอบโจทย์จากรัฐ แต่ด้วยสภาวะที่ปล่อยให้อุณหภูมิของความไม่แน่ใจในสังคมเติบโตขึ้นทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจ

          ส่วนปรากฏการโซเชียลมีเดีย ข้อมูลอาจทำให้เกิดความไม่น่าชื่อถือ การบริหารข้อมูลต้องทำให้เกิดความถูกต้อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องอิงข้อมูลจากภาครัฐ แต่เป็นการบริการข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องและอธิบายให้เกิดความชัดเจนและถูกต้อง
  ซึ่งทั้งหมดนี้ตอบคำถามว่าข้อมูลที่ชัดเจนและบอกในเวลาที่ถูกต้องเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดความมั่นใจ อะไรที่เกิดแล้วมาอธิบายภายหลังยิ่งสร้างอุณหภูมิให้สังคมที่สูงขึ้น

          สำหรับสื่อมวลชนเอง สิ่งที่สื่อต้องช่วยคือ ต้องให้สิ่งที่เป็นข้อมูลชัดๆให้มากและจัดสมดุล ต้องมีข่าวดีในภาวะวิกฤติด้วย เพื่อให้สภาวะของคนมีพลัง  เช่น มีข่าวดีที่ว่า ประชาชนสามารถจัดการกับปัญหาได้เอง จะช่วยให้ประชาชนเห็นทางออกและลุกขึ้นเดินหน้าฝ่าวิกฤติไปได้

***********************************************************************************

ตอนนี้ผมกลัวอย่างเดียวว่า ถ้าหากรัฐแก้ปัญหาได้ภายหลัง จะไม่มีใครฟัง คล้ายๆกับเด็กเลี้ยงแกะ หวังว่ารัฐคงจะหาทางออกต่อวิกฤตครั้งนี้ได้ดีขึ้น แต่เราที่เป็นประชาชน ก่อนอื่นต้องพึ่งพิงตนเองก่อนรอความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือโทษใคร

ไปฟังเสียงจริงจากคลิปนี้ได้ครับ
http://www.thaipbs.or.th/flood54/preview.asp?newsid=C0000474

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น